
- “WFH แต่ทำงานหนักกว่าเดิม 4 ทุ่มก็ทักมา”
- “เจอลูกค้ายิงคำถามโหดๆ หัวหน้าชอบโยนมาให้ตอบตลอด”
- “จ้าง 100 แต่ให้เล่น 1,000,000 แบบนี้ก็เกินไป!!!”
จะว่าไปแล้ว “คำบ่น” ของเหล่าพนักงานไม่ใช่ Toxic เสมอไป ถ้าเปิดใจรับฟังก็มีประโยชน์แก่บริษัทและลูกค้าไม่น้อยเลย!!
Employee Blaming: ข้อมูลชั้นเลิศที่ใช้ปรับปรุงองค์กร
คำบ่นของพนักงานในองค์กร (Employee blaming) อาจเป็น “วัตถุดิบ” ชั้นดีสู่การปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่เป็นอยู่ หรือแม้แต่นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์-นวัตกรรมใหม่ๆ เลยทีเดียว
หลายคนเชื่อว่า Customer Feedback ที่มีต่อสินค้าบริการ คือพรที่ต้องรีบน้อมนำมาปรับปรุงแก้ไข แต่ในเมื่อพนักงานของบริษัทก็มีส่วนในการนำเสนอสินค้าบริการนั้น ถ้าเราใส่ใจรับฟังเสียงพนักงานของเราตั้งแต่ต้นทาง ก็น่าจะทำให้ปลายทางดีขึ้นได้?
ผลวิจัยจาก Gallup เผยว่า บริษัทที่รับฟังเสียงของพนักงานตัวเองอย่างจริงจังและนำไปทดลองปฏิบัติ มักมีผลกำไรสูงกว่าคู่แข่งถึง 21%
แต่ก่อนอื่น เราต้องทำลาย Old Myth ที่มักปักใจเชื่อว่าคำบ่นของพนักงาน…
- มองโลกในแง่ร้าย แทนที่จะเปลี่ยนให้เป็นโอกาส
- ไม่มีความอดทนในการทำงาน นิดๆ หน่อยๆ ก็บ่น!!
- แทนที่จะบ่น เอาเวลาไปคิดหาทางแก้ดีกว่าไหม?
- ทำลายบรรยากาศในที่ทำงาน
Employee Blaming มักถูก “ด้อยค่า” กลายเป็นพลังงานด้านลบ กลายเป็นคาแรคเตอร์ของคนที่ไร้ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร แต่เมื่อเรามาพิจารณาดูดีๆ เปิดใจให้กว้างจะพบว่าคำบ่นของพนักงาน…
- ไม่ใช่คำซุบซิบนินทาอันไร้สาระ
- ไม่ใช่การไร้ซึ่งปัญญาในการคิดแก้ปัญหา
- ไม่ใช่ธรรมชาติของการทำงานที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
บางทีการที่พนักงานบ่น เพราะมีปัญหาเรื้อรังที่องค์กรไม่ยอมเผชิญหน้าจริงๆ อยู่ก็ได้…แต่ถ้าเปิดใจรับฟังอย่างจริงจัง อาจนำไปสู่ทางออกที่คาดไม่ถึง
ตัวอย่าง Employee Blaming วัตถุดิบชั้นดี
ไม่ต่างจากการทำอาหาร ถ้าเรามีวัตถุดิบชั้นดี ก็เหมือนทำได้อาหารไปกว่าครึ่งแล้ว คำบ่นจากคนวงในอย่างพนักงานเองก็เช่นกัน
ปี 1977 Dick Brams กำลังบ่นหลังบ้านกับเพื่อนร่วมงานถึงความไม่สมเหตุสมผลว่า McDonald’s ที่พวกเขาทำงานอยู่…เป็นแบรนด์ที่ถูกอกถูกใจและถูกปากหนูน้อยสุดๆ แต่กลับไม่มี “เมนูเด็ก” เลย เมนูส่วนใหญ่ตอนนั้นออกแบบมาเพื่อผู้ใหญ่เป็นหลัก ทั้งๆ ที่ลูกค้าจำนวนไม่น้อยเป็นเด็กอายุน้อย
ภายหลังเสียงบ่นของเขาไปถึงหูผู้บริหาร และต้องรออีกกว่า 2 ปีก่อนที่ชุด “Happy Meal” จะออกสู่ตลาดและกลายเป็นชุดที่ขายดีที่สุดตลอดกาลของ McDonald’s มาจนถึงปัจจุบัน
ณ เวลาพักเบรค พนักงานดูแลแถวหน้าที่ Legoland กำลังบ่นกับเพื่อนร่วมงานอย่างตรงไปตรงมาถึงความเหนื่อยล้าและชวนปวดหัว ที่ไม่ใช่แค่บริหารจัดการแถวคิวที่ยาวเหยียด แต่ต้องดีลกับน้องๆ หนูๆ ที่ซุกซนเหลือเกิน
- บ้างวิ่งเล่นรอบพื้นที่ชวนอันตราย
- บ้างวิ่งเข้ามาถามโน่นถามนี่
- บ้างร้องไห้งอแงเสียงดังลั่น
สาเหตุหนึ่งเพราะความเบื่อระหว่างรอคิว น้องๆ ไม่มีอะไรทำตามประสาเด็ก แต่คำบ่นนี้นำไปสู่การขัดเกลาไอเดียเพื่อหาทางออก สุดท้าย มีการติดตั้งชุดตัวต่อเลโก้ขนาดใหญ่ไว้ระหว่างทางแถวคิว ผลปรากฎว่าชีวิตดีขึ้นมากต่อทุกฝ่าย
- น้องๆ หนูๆ ได้มีอะไรทำระหว่างรอคิว
- พ่อแม่สบายใจเปราะหนึ่ง
- พนักงานสามารถไปดูแลส่วนอื่นๆ ได้
Louvre Museum ในปารีส คือพิพิธภัณฑ์ที่มี “ผู้เข้าชมมากที่สุดในโลก”
- ปี 2016 มีผู้เข้าชม Louvre Museum 7.3 ล้านคน
- ปี 2017 มีผู้เข้าชม Louvre Museum 8.1 ล้านคน
- ปี 2018 มีผู้เข้าชม Louvre Museum 10.2 ล้านคน
จำนวนผู้เข้าชมเติบโตก้าวกระโดด แต่การบริหารพิพิธภัณฑ์กลับโฟกัสที่งานศิลปะและช่องทางสร้างรายได้ จนแถวคิวยาวเหยียดล้นทะลักทั้งในและนอกอาคาร นำไปสู่คำบ่นของเหล่า “รปภ.” (และประท้วงหยุดงาน) ที่เรียกร้องให้เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่และมาตรการรักษาความปลอดภัย
ทางการพิพิธภัณฑ์มาพิจารณาดูดีๆ ก็พบว่า Make Sense จึงตัดสินใจ “ปิดชั่วคราว” ซึ่งภายหลัง ถือเป็นเรื่องดีในการยกระดับการรักษาความปลอดภัย และการออกแบบ Customer Experience ใหม่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยดีขึ้น
Mindset ที่ผู้นำจำเป็นต้องมี
ผู้นำองค์กรหรือบรรดาหัวหน้า ต้องพร้อมเปิดใจรับฟังข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อตัวเอง (Openness to critics) นี่อาจเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะเสียงของคนตัวเล็กตัวน้อยอาจไม่มีน้ำหนักมากพอ / ส่งเสียงไปไม่ถึง / หรือถูกด้อยค่าระหว่างทาง
เรื่องนี้วัดระดับ “อีโก้” ของหัวหน้าแต่ละคนได้ด้วย
- คนที่อีโก้น้อย ถูกวิจารณ์ได้และพร้อมแก้ไข
- คนที่อีโก้สูง เลี่ยงคำวิจารณ์ และพร้อมแก้แค้นเอาคืน
นอกจากนี้ต้องหัดยอมรับความไม่รู้หรือสะเพร่าของตัวเอง (Admit ignorance) ไม่มีใครเพอเฟกต์ 100% แม้แต่หัวหน้าคนเก่งที่หวังดี ก็อาจตัดสินใจผิดพลาดที่ทำให้ลูกทีมได้รับผลกระทบหัวเสียได้เช่นกัน
ในบางกรณี ผู้นำต้อง “ยกระดับความสำคัญ” ของ Employee Blaming ให้เทียบเท่าหรือใกล้เคียง Customer Feedback เพราะถ้าอย่างแรกดี…อย่างหลังก็มีแนวโน้มดีตาม
เป็นที่ทราบกันดีว่า หลายครั้งแล้ว คำบ่น…มีค่ามากกว่าคำชม แม้ว่าจะออกมาจากปากพนักงานเองก็ตาม
ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/
ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com
ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/
อ้างอิง
- https://www.forbes.com/sites/markmurphy/2015/06/12/6-words-for-stopping-blame-and-increasing-accountability/?sh=1b9c841e57c3
- https://www.theartnewspaper.com/news/louvre-is-suffocating-with-high-volume-of-visitors-striking-workers-say
- https://work.chron.com/deal-deceptive-colleagues-work-18374.html
- https://healthyworkforceinstitute.com/how-to-win-at-the-employee-blame-game/
- https://www.gallup.com/workplace/236366/right-culture-not-employee-satisfaction.aspx
- https://ideas.sideways6.com/article/inspiring-examples-of-intrapreneurship-and-employee-ideas-in-action